วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความรู้ที่ได้รับจาการเรียนวิชา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนางานทางด้านการศึกษา โดยการประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2. การนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางด้านการศึกษาซึ่งจะช่วยให้การศึกษามีคุณภาพดียิ่งขึ้น
3. การนำกระบวนการเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา โดยพิจารณาถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของสถานศึกษา และโอกาส อุปสรรคที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยต่อการพัฒนา
4. ได้รับความรู้ในเรื่องของกฎหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เนตเพิ่มมากขึ้น
5. ได้รับความรู้ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาในด้านต่างๆ เช่น ความหมาย ความสำคัญและประเภท เป็นต้น
6. แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แนวคิด POSCORB
ความคิดเห็นเพิ่มเติม ได้นำเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์มาประยุกต์ใช้ในงานสอนของตนเอง ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และมีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายขึ้น ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีความสนุกสนานและไม่น่าเบื่อ

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐ และ เอกชน
1. มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในงานด้านต่างๆ เช่นด้านการวางแผน การตัดสินใจ การดำเนินงาน
2. ระดับการบริหารงานองค์กร แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฎิบัติการ
3. ระดับการตัดสินใจแบ่งออกเป็น 3 ระดับเช่นเดียวกัน คือ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับปฎิบัติการ
4. ระบบสารเทศสำหรับองค์กร มีระบบย่อยที่สัมพันธ์กันดังนี้
4.1 ระบบประมวลผลรายการ ( TPS )
4.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS )
4.3 ระบบสารสนเทศสำนักงาน ( OIS )
4.4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( DSS )
4.5 ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ( ESS )
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง และเทคโนโลยีสมัยใหม่
1. ทำให้ทราบถึงผลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม และการเมือง
2. กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ต้องมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นนตอน คือ
2.1 การวิเคราะห์กลยุทธ์ ซึ่งต้องพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
2.2 การจัดทำกลยุทะ ซึ่งต้องมีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย
2.3 การนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ
3.1 เพิ่มปริมาณการขาย 3.2 การลดต้นทุนในการผลิต
3.3 การเพิ่มผลผลิต 3.4 การเพิ่มคุณภาพของสินค้า
3.5 เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
4. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ
4.1 เสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลา 4.2 จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง 4.3 มีความเสี่ยง
บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
1. ทราบถึงความหมายของนวัตกรรม และประเภทของนวัตกรรม
2. การสร้างนวัตกรรมจะต้องมีองค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม หลักการพัฒนานวัตกรรม และการประเมินการใช้ นวัตกรรม
3. ในการสร้างนวัตกรรมจะมีปัจจัยในการพัฒนาดังนี้ บุคคลเก่ง ทีมงานเยี่ยม และองค์กรดีเลิศ
บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
1.ได้ทราบถึงความสามารถของการพัฒนาและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
1.1 การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซด์ ( WBL )โดยใช้โปรโตคอลของอินเตอร์เนตในการถ่ายโอนข้อมูล
1.2 บทเรียนออนไลน์ ( e-Learning )มีรูปแบบการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็คทรอนิคส์ หรือเรียกว่าการเรียนทางไกล
1.3 โมบายเลิร์นนิ่ง ( m-Learning ) คือการศึกษาทางไกลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย สำหรับในประเทศไทย มีการใช้ที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
1.4 สวนดุสิตอินเทอร์เนตบรอดแคสติ้ง ( SDIB )จะมีการเผยแพร่ความรู้ต่างๆที่เป็นจุดเด่นของสวนดุสิต เช่นสวนดุสิตพาชิม ท็อปฮิตสวนดุสิตโพลเป็นต้น
1.5 ห้องสมุดเสมือน เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลไว้บริการในรูปอิเล็คทรอนิคส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน

บทคัดย่อ

ชื่อวิทยานิพนธ์ ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ในหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อความสามารถในการทำโครงงาน และเจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อนักศึกษา : ธนพล กลิ่นเมือง
ที่ปรึกษา : รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์
สถาบัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : การสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สาขาวิชา : การศึกษาวิทยาศาสตร์
ปี : 2550
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ
1. ศึกษาความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ในหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ศึกษาเจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ในหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
2.1 แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99
2.2 แบบวัดเจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 1.77-5.97
2.3 แบบสัมภาษณ์เจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ในหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการทำโครงงานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ สูงกว่าร้อยละ 70
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ในหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นได้คะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดี
เอกสารอ้างอิง
ธนพล กลิ่นเมือง.(2550).ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5E ในหน่วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อความสามารถในการทำโครงงาน และเจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น .กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลการศึกษาบทคัดย่อ
1. ทำให้ทราบถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูลจากคำสำคัญ และพบข้อมูลต่างๆมากมาย
2. ทำให้ทราบถึงแล่งข้อมูลในการค้นคว้าซึ่งมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ทำให้รู้รูปแบบการทำงานวิจัย และการเขียนบทคัดย่อ
4. ได้รู้ถึงวิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง และได้ลงมือปฎิบัติ
5. สามารถศึกษาและนำความรู้จากงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในงานของตนเองได้

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนะนำตัวเอง

ภาพประทับใจ ( ชีวิตการทำงาน )

รางวัลแรกในชีวิตการทำงาน ครูดีเด่นช่วงชั้นที่ 1



ผ.อ.และเพื่อนๆร่วมแสดงความยินดี ขอบคุณค่ะ


ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

1. ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้โดยสรุป
- ภาคทฤษฎีได้รับความรู้ในเรื่องของพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบของสารสนเทศ
ซึ่งประกอบไปด้วย input processing output รู้จักการจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศ เข้าใจแผน ยุทธวิธี และแผนกลยุทธ์ และที่สำคัญคือ ความสำคัญของสารสนเทศและเป้าหมาย
- ภาคปฏิบัติให้นักศึกษาเข้ากลุ่ม โดยให้ส่งตัวแทน 3 คนไปเรียนรู้การสมัครเมล ส่วนที่เหลือให้รวบรวมข้อมูลของสมาชิกภายในกลุ่มในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆของคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นให้ตัวแทนทั้ง 3 คน มาสอนการสมัคร hot mailซึ่งทำให้ทุกคนได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นและได้ลงมือปฎิบัติจริง
2. ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต ( internet ) ต่อกระบวนการจัดการการศึกษา
- ทำให้การศึกษามีการพัฒนา การจัดการเรียนรู้มีความทันสมัย รวดเร็ว สร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา สร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูล และศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น และตรงกับความต้องการมากที่สุด
3. เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เนตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
- โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เนต ข้อดี - ใช้งานได้ทุกที่ที่ต่ออินเตอร์เนต
- ช่วยลดปัญหาการติดตั้งโปรแกรม
- ไม่เสี่ยงกับไวรัสคอมพิวเตอร์
- ลดปัญหาเกี่ยวกับการไม่เข้ากันของระบบปฎิบัติการต่างๆ ข้อเสีย - ถ้าสถานที่ใดไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต
จะไม่สามารถใช้งานได้
- โปรแกรมใช้งานบนเครื่องส่วนบุคคล ข้อดี - ไม่จเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตก็สามารถใช้งานได้
- ใช้งานง่าย สะดวก
ข้อเสีย - ไมาสารถค้นหาข้อมูลไดอย่างกว้างขวาง

ประวัติตัวเอง


ชื่อ นางสาววราภรณ์ ศรีทิพย์
วัน เดือน ปีเกิด 25 กุมภาพันธ์ 2522
ที่อยู่ 50 ถ. นอก ต. คลองกระแชง อ.เมือง จ. เพชรบุรี 76000
อาชีพ พนักงานครูเทศบาล ตำแหน่งครู สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเพชรบุรี
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก ( รัตนกะลัสอนุสรณ์ ) จ. เพชรบุรี